นายจาตุรนต์ ฉายแสง
ก่อนที่คนต้องรอรับข่าวจากทีวีจากหนังสือพิมพ์ ตอนนี้เครื่อข่ายอินเตอร์เน็ตทำให้ใครก็ได้ส่งข่าวเข้าไปในเน็ตเวิรคให้คนทั้งประเทศได้รู้ จนแม้แต่สื่อหลักเองหลายครั้งนำข่าวจากอินเตอร์เน็ตนี่เองไปออกต่อ สำนักข่าวบางที่นั้นถึงกับมองว่าอินเตอร์เน็ต เป็นศัตรูเพรามันสามารถรายงานข่าวได้เร้วกว่าสื่อหลักหลายสิบนาที เช่นมีภัยพิบัติแผ่นดินไหว คนในพื้นที่ก็ ถ่ายภาพ ถ่ายวิดีโอแล้วส่งจากมือถือเข้าอินเตอร์เน็ตไปยังเครือข่าย social media เครือข่ายชุมชนให้ได้รับรู้ทันทีทันใด แต่สื่อหลักต้องส่งนักข่าวไปถึงที่เพื่อทำข่าวต้องใช้เวลา
ล่าสุดไทยรัฐออนไลน์เองเกาะข่าวนักการเมืองจากทวิตเตอร์ทุกช๊อตๆ ผมอ่านทวีตคุณจาตุรณต์เมื่อสักครู่ไทยรัฐก็นำไปลงแล้ว ไม่รู้เหมือนกันว่าแบบนี้ถูกต้องรึป่าวที่นำข้อความสนทนาของท่านไปออก เพราะบางครั้งการใช้ทวิตเตอร์ก็เป้นการพูดคุยส่วนตัว พูดคุยในกลุ่มของตัวเอง ถึงแม้จะสามารถเข้าถึงได้ทั่วไป
ไทยรัฐออนไลน์
หัว หน้ากลุ่มบ้านเลขที่ 111 ทวิตเตอร์ วิเคราะห์การเมืองญี่ปุ่น เปรียบเทียบการเมืองไทย เหตุใดพรรคฝ่ายค้านโค่นพรรครัฐบาลที่ครองตำแหน่งมานานหลายสิบปีได้ พร้อมตั้งข้อสังเกตไร้กองทัพแทรกแซง
เมื่อวันที่ 31 ส.ค. นายจาตุรนต์ ฉายแสง หัวหน้ากลุ่มบ้านเลขที่ 111 อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ให้ความเห็นในเว็บไซต์ทวิตเตอร์ เกี่ยวกับการเลือกตั้งครั้งล่าสุดในประเทศญี่ปุ่น เพื่อแลกเปลี่ยนความเห็นกับผู้ใช้งานคนอื่นๆ ว่า การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในญี่ปุ่นมีประเด็นน่าคิดน่าศึกษามากมาย ทั้งเพื่อเข้าใจญี่ปุ่นและนำมาเปรียบเทียบกับการเมืองไทย เหตุใดพรรครัฐบาลญี่ปุ่นจึงอยู่มานานหลายสิบปี ที่น่าสนใจกว่านั้นคือแล้วเพราะอะไรครั้งนี้ฝ่ายค้านจึงชนะ มีพัฒนาการสะสมมาอย่างไร
พรรครัฐบาลเสื่อมลงอย่างไร ด้วยเหตุอะไร พรรคฝ่ายค้านยืนหยัดมาได้อย่างไร เขาคิดกันอย่างไร มีความเชื่ออย่างไร คนญี่ปุ่นที่ไม่ชอบรัฐบาลในหลายสิบปีที่ผ่านมาเขาคิดอย่างไร ไม่อึดอัดจนทนไม่ไหวบ้างหรือ เขาอธิบายกันอย่างไรให้คนยอมรับระบบมาได้ คนส่วนน้อยเขาคิด กันอย่างไร เขาอธิบายเรื่องการซื้อเสียงกันอย่างไร รวมทั้งการตอบแทนผลประโยชน์แก่กลุ่มชน รวมทั้งกลุ่มอาชีพต่างๆกันอย่างไร
แน่ นอนว่าปัจจัย สำคัญของญี่ปุ่นส่วนหนึ่งคือรัฐธรรมนูญที่น่าจะดีกว่าของไทยและที่เปรียบ เทียบกันยากมากคือกองทัพ ญี่ปุ่นไม่มีการใช้กำลังอาวุธแทรกแซง ทำอย่างไรจะทำ ให้เมืองไทย มีวัฒนธรรมที่ยอมรับกติกา ยอมรับเสียงข้างมาก และยอมให้พรรคการเมืองและประชาชนพัฒนาไปโดยไม่ล้มกระดานกันตามใจชอบ
ไทยรัฐออนไลน์
- โดย ไทยรัฐออนไลน์
- 31 สิงหาคม 2552, 22:57 น.
- http://www.thairath.co.th/content/pol/30025
จริงๆแล้วสื่อเปิดกว้างมาก เหลือเกิน หรือ เกินไป รึเปล่า แต่ก็ดีสำหรับประชาชนที่ไม่ได้เล่นทวิตเตอร์มั้งครับได้รับรู้ข่าวสารเร็วดีกว่าทีวี บางครั้งคิดแต่ว่าไม่ผิดกฎหมาย แต่ ผิดต่อสิทธิส่วนบุคคลหรือป่าว
ตอบลบจาก:ประชาชนคนไทยที่รักประเทศไทยอยากให้ทุกฝ่ายหันหน้าเข้าหากันอะไรที่ผ่านมาถือเป็นบทเรียนอโหสิกรรมให้กันและกันอย่างไรก็เป็นคนไทยร้องเพลงชาติเพลงเดียวเริ่มต้นใหม่เพื่อพัฒณาชาติให้เจริญต่อไป..... ครับ ท่าน พ.ต.ท ทักษิณ ท่าน อภิสิทธิ์ เริมนับ1
ตอบลบไหม่ครับ
คนไทยที่รักประเทศไทยอยากให้ประเทศไทยเดินหน้า