[เอ.อาร์.ไอ.พี, www.arip.co.th] ทวิตเตอร์ (twitter) ดีไซน์โฮมเพจใหม่ โดยเฉพาะผู้ใช้ที่เข้ามาเป็นครั้งแรก (ยังไม่มีบัญชีผู้ใช้) หรือสมาชิกที่ยังไม่ได้ล็อกอิน ซึ่งดีไซน์ของเดิมจะเน้นให้ล็อกอินเข้าไช้ระบบ เท่ากับเป็นการบังคับให้ผู้ใช้มีทางเลือกเดียวคือสมัครเป็นสมาชิก แต่ล่าสุดทวิตเตอร์เปิดให้ผู้ใช้ค้นหา (Search) สิ่งที่ผู้คนในโซเชียลเน็ตเวิร์กแห่งนี้พูดคุยกันได้ทันที หรือเลือกจะลงทะเบียน(Sign up)เป็นสมาชิก
สำหรับการเปิดช่องทางให้ผู้ใช้บริการทวิตเตอร์ได้ เสิร์ช ซึ่งเป็นพฤติกรรมพื้นฐานของผู้ใช้เน็ตทั่วโลก ถือเป็นความฉลาดในการออกแบบที่ทำให้ผู้ใช้ (ที่ยังไม่ได้เป็นสมาชิก หรือไม่ได้ต้องการล็อกอิน) ได้เห็นความคิดในประเด็นเรื่องราวต่างๆ ของผู้คนในสังคมนี้ได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะความคิด ไอเดีย และความเห็นต่อ"คีย์เวิร์ด"ที่สดใหม่จากผู้คนทั่วโลกที่อาจจะเพิ่งโพสต์เข้า ไปเมื่อหนึ่งนาทีทีผ่านมา ด้านล่างจะเป็นแนวโน้มที่ผู้คนในสังคมขนาดใหญ่นี้กำลังพูดถึงกัน (ด้วยระดับความเร็วของการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่นาทีจนถึงชั่วโมง วันจนถึงสัปดาห์) ซึ่งการทำให้ผู้ใช้มือใหม่ได้มีโอกาสสัมผัสประสบการณ์ดัง กล่าว จะช่วยให้เข้าใจ และเห็นประโยชน์ของการเป็นส่วนหนึ่งของไมโครบล็อกแห่งนี้ได้อย่างรวดเร็ว
การ ออกแบบให้ช่องค้นหาเป็นสิ่งที่ผู้ใช้พบเห็นเป็นอันดับแรก เป็นการยั่วให้ผู้ใช้ที่ไม่รู้จักทวิตเตอร์ได้ลองสำรวจความคิดของคนในสังคม ผ่านบริการนี้ แถมผลลัพธ์ที่ได้ยังอยู่ในหน้าเว็บเดียวกันอีกด้วย นอกจากนี้ที่ด้านข้างยังมีลิงค์ของหัวข้อที่กำลังได้รับการพูดถึงมากเป็น พิเศษ หรือพูดง่ายๆ ก็คือ มันเป็นประเด็นที่อยู่ในกระแส หรือแนวโน้มนั่นเอง (Trending Topics) ซึ่งเมื่อคลิ้กเข้าไปจะสังเกตเห็นแถบสีน้ำเงินเข้มด้านบน จะมีการให้คำอธิบายที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อแนวโน้มนั้นๆ ด้วยว่า มันคืออะไร? ซึ่งเป็นประโยชน์กับผู้ใช้บริการมาก (Techcrunch รายงานว่า คำอธิบายแนวโน้มที่เห็นนั้น ดึงมาจากบริการ What The Trend?)
ดู เหมือน Twitter จะออกแบบใหม่เฉพาะส่วนของบริการที่อยู่ในโฮมเพจ สำหรับผู้ใช้หน้าใหม่ หรือยังไม่ได้ล็อกอินเท่านั้น สว่นรายละเอียดของอินเตอร์เฟซหน้าบริการสมาชิกยังคงมีฟังก์ชันต่างๆ เหมือนเดิม นั่นหมายความว่า เป้าหมายสำคัญของการปรับเปลียนหน้าโฮมของทวิตเตอร์ก็คือ การเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงบริการมากขึ้น (แต่เดิมเน้นให้ล็อกอิน เพื่อบังคับให้สมัครก่อนใช้บริการ) พร้อมทั้งทำให้เกิด engagement หรือการอยู่ใช้บริการนานขึ้นด้วย เพราะนอกจากโพสต์ และอ่านข้อความที่โต้ตอบกับกลุ่มเพื่อนๆ แล้ว หากเข้ามาที่โฮมเพจใหม่ก็สามารถเสิร์ชเรื่องที่สนใจ หรืออยู่ในกระแสได้ทันที ซึ่ง Twitter เลือกใช้บริการค้นหา/แนวโน้ม (Search/Trend) เป็นคีย์ฟังก์ชันในการออกแบบหน้าโฮมใหม่ อย่างไรก็ตาม เป้าหมายที่ใหญ่กว่าก็คือ การทำให้ทวิตเตอร์มีฟังก์ชันที่เอื้ออำนวยต่อธุรกิจในการเข้ามาใช้บริการ และเกิดการหารายได้ให้กับทวิตเตอร์เองในอนาคต อย่างเช่น ล่าสุดทวิตเตอร์เปิดบริการวิธีทำธุรกิจด้วยทวิตเตอร์ (Twitter 101 Special) เป็นต้น